โรคที่สำคัญของดาวเรือง และ แมลงศัตรูสำคัญของดาวเรือง

11391 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรคที่สำคัญของดาวเรือง และ แมลงศัตรูสำคัญของดาวเรือง

มารู้จักกับโรคที่สำคัญของดาวเรือง และแมลงศัตรูสำคัญของดอกดาวเรืองกันได้เลยยยค่าา ^^ 

✿  โรคใบจุด



ลักษณะอาการ : ใบเริ่มมีอาการจุดสีขาวแล้วเนื้อเยื่อตรงกลางแผลจะแห้งและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเนื้อใบที่มีแผลจะค่อยๆ แห้งร่วงหล่นทำให้ลำต้นทรุดโทรม

การป้องกัน : ระมัดระวังการให้น้ำเนื่องจากเชื้อสามารถแพร่กระจายในละอองน้ำได้

สารเคมีที่ใช้ : คลอโรธาโลนิล , แมนโคเซบ , ไอโพรไดโอน , ไดฟีโคลนาโซน

หมายเหตุ : โรคนี้จะระบาดในฤดูฝนในสภาพอากาศที่มีความชื่นสูงๆ

 

✿  โรคดอกเน่า



ลักษณะอาการ : ระบาดหนักในช่วงฤดูฝนหากเกิดในช่วงดอกกำลังบานจะทำให้ดอกเกิดอาการไหม้ และไม่สามารถบานได้หากเชื้อเข้าทำลายในระยะดอกบานจะทำให้กลีบดอกมีสีน้ำตาล

การป้องกัน : มัดระบาดในช่วงที่มีอากาศร้อนชื้น เช่น มีฝนตกสลับกับแดดออก

สารเคมีที่ใช้ : คลอโรธาโลนิล , มาเนบ , ซีเนบคาร์เบนดาซิม

หมายเหตุ : โรคนี้จะระบาดในช่วงฤดูฝนและในสภาพอากาศที่มีความชื่นสูง

 

✿  โรคเหี่ยวเหลือง



ลักษณะอาการ : เริ่มจากใบดาวเรืองที่มีอยู่บริเวณ โคนต้นแสดงอาการใบเหลืองจะแห้งตายใบทั้งต้น ส่วนของลำต้นจะแบนเหี่ยวและลำต้นลีบ บริเวณคอดินหรือเหนือดิน มักมีสีแดงคล้ำกว่าส่วนอื่น

การป้องกัน : หากพบโรคระบาดให้ขุดต้นถอนทิ้งและพยายามอย่าให้น้ำผ่านบริเวณที่เกิดโรค

สารเคมีที่ใช้ : เบโนมิล , ไธโอฟาเนททิล , อีทรีไดอาโซล

หมายเหตุ : การปลูกแบบยกร่องแปลงจะช่วยควบคุมการระบาดของโรคได้

 

✿  โรคเหี่ยวเขียว



ลักษณะอาการ : เริ่มจากใบดาวเรืองที่อยู่บริเวณด้านบนแสดงอาการเหี่ยวสลดคล้ายอาการขาดน้ำโดยต้นจะแสดงอาการเหี่ยวในช่วงกลางวันที่มีแสงแดด ส่วนตอนเช้าและตอนเย็นต้นจะมีอาการปกติและหลังจากนั้น 4 – 5 วัน ต้นดาวเรืองจะตายโดยที่ใบยังมีสีเขียวอยู่

การป้องกัน : หากพบโรคระบาดให้ขุดต้นถอนทิ้งและพยายามอย่าให้น้ำผ่านบริเวณที่เกิดโรค

สารเคมีที่ใช้ : สเตปโตมัยซิน 120 กรัม ผสมเมทาแลกซิล 25 % 200 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตรรดโคนต้น

หมายเหตุ : การปลูกแบบยกร่องแปลงจะช่วยควบคุมการระบาดของโรคได้

 

แมลงศัตรูสำคัญของดาวเรือง และการป้องกันกำจัด

✿  หนอนชอนใบ



ลักษณะอาการ : ทำลายใบอ่อน พบการระบาดรุนแรงมากตัวหนอนที่ฟักจากไข่ไชชอนเป็นทางยาวหรือสร้างอุโมงค์กัดกินและขับถ่ายอยู่ภายใน รอยทำลายของหนอนชอนใบชนิดนี้มีความยาวโดยเฉลี่ย 17.5 ซม. ใบที่ถูกทำลายแสดงลักษณะแคระแกนบิดเบี้ยว

การป้องกัน : การเพิ่มสารเคมีป้องกันกำจัดควรพ่นในช่วงระหว่าง 6.00 – 9.00 น.

สารเคมีที่ใช้ : คาร์แทป , ไบเฟนทริน , พิโพรนิล

หมายเหตุ : ระบาดในช่วงที่ย้ายปลูกใหม่ ๆ ก่อนเด็ดยอด

 

✿  หนอนกัดดอก



ลักษณะอาการ : หนอนจะกัดกอนดอกจนกลีบดอกร่วงเสียหายโดยเข้าทำลายขณะที่ดอกดาวเรืองเริ่มบาน

การป้องกัน : สังเกตุที่มีผีเสื้อบินในแปลงมากๆ เนื่องจากการวางไข่เป็นตัวหนอน

สารเคมีที่ใช้ : เมโทมิล , อะบาแมกติน (โซนิคติน ) , ไซเพอร์เมทริน

หมายเหตุ : ระบาดในช่วงที่ตุ้มดอก

 

✿  เพลี้ยไฟ



ลักษณะอาการ : จะเข้าทำลายและดูดกินที่ยอดอ่อนทำให้ใบหงิกงอและไม่แตกใบใหม่จะเห็นมีรอยขีดตามใบหรือกลีบเลี้ยงของดอก

การป้องกัน : พยายามรักษาความชื้นในแปลงปลูกให้สม่ำเสมอ

สารเคมีที่ใช้ : เบนฟูราคาบ , พิโพรนิล , ฟอร์มิธาเนล

หมายเหตุ : มักระบาดในช่วงหลังเด็ดยอด

 

✿  ไรแดง



ลักษณะอาการ : พบมากในช่วงฤดูร้อนโดยไรแดงจะมีลักษณะคล้ายแมงมุมขนาดเล็กมากสีแดงมีระบาดปริมาณมากสร้างใยแมงมุมใบพืชที่โดนทำลายจะแสดงอาการเป็นจุดเป็นด่างสีเหลือง

การป้องกัน : พยายามรักษาความชื้นในแปลงปลูกให้สม่ำเสมอ

สารเคมีที่ใช้ : อะมิทราซ , ไดโคไฟ

หมายเหตุ : มักระบาดในช่วงหลังเด็ดยอด

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้